โครงการ - ห้องเรียนหุ่นยนต์ STEM Robotics

product
product

  • STEM ROBOTTICS จะเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมทักษะที่จำเป็นครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านปัญญา ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาและเชื่อมโยงกับการปฏิบัติจริงและการฝึกทักษะการปฏิบัติ 2) ด้านทักษะการคิด ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ และ 3) ด้านคุณลักษณะ ผู้เรียนสามารถมีทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม มีทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดีจากบริบทที่เปลี่ยนแปลงของโลกและการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของโลกที่เปลี่ยนไปในศตวรรษที่ 21 การจัดการศึกษาในปัจจุบันจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งสามารถแบ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็น 3 องค์ประกอบ คือ ปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต ซึ่งปัจจัยที่สำคัญ คือ ปัจจัยที่ 1 คือ ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) เป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ปัจจัยที่ 2 คือ ครู ซึ่งครูจำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนการสอน จากผู้สอนเป็นผู้กระตุ้นการเรียนรู้ หรือผู้ช่วยเหลือการเรียน (Facilitator) และปัจจัยที่ 3 คือ ผู้เรียน เปลี่ยนจากผู้เรียน เป็นนวัตกรรม (Innovator) เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้แบบต่างๆ ตามความสนใจของผู้เรียน ให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนในแต่ละโรงเรียน และปัจจัยอื่นๆ การดำเนินงานทางด้านสะเต็มศึกษาจะเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาครู นักเรียน/นักศึกษา ของสถานศึกษาสายสามัญ และสายอาชีพในเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและเป็นการสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่การศึกษาในศตวรรษที่ 21 และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล
  • ปัจจุบันเทคโนโลยีถูกพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสตร์ในเรื่องหุ่นยนต์ ที่เริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในรูปแบบต่างๆ การศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย แม้ว่าจะมีหนังสือให้ความรู้ทางด้านนี้อยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ และยังไม่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะกับนักเรียนในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งกำลังจะเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางด้านนี้เพื่อใช้ประกอบการเรียน และเป็นวิชาชีพในอนาคต ซึ่งในเวลาปกติไม่มีโอกาสในการเรียน การฝึกฝน ให้เกิดความเชี่ยวชาญ จึงทำให้ขาดประสบการณ์และทักษะในเรื่องราวของเทคโนโลยีหุ่นยนต์
  • การเรียนการสอนในแบบ STEM ROBOTTICS นี้ จะทำให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิดอันนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตในการทำงาน (Productivity) การสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ โดยนัยของนวัตกรรมไม่ได้หมายเฉพาะสร้างสรรค์ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ หรือ Products ต่างๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงนวัตกรรมในส่วนของงานบริการ (Services) หรือแม้กระทั่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมกระบวนการทำงาน (Process) เพื่อผลผลิตในการทำงาน (Productivity) ที่เพิ่มขึ้น ผลที่ได้ไม่ได้มุ่งเฉพาะการนำไปใช้ในการงานอาชีพในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เท่านั้น แต่ผลพลอยได้จากกระบวนการเรียนการสอนในแบบ STEM Education นี้ ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์สายอาชีพอื่นๆ ได้อีกด้วย